หน้าแรก > ประวัติวิทยาลัย

ประวัติวิทยาลัย

สถานศึกษาเอกชนด้านอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค)

โดย อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2507 โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” มี ฯพณฯ ท่าน ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นได้ประทานเกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนช่างกลสยาม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2508 มีตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน คือ แผนที่ประเทศไทยล้อมรอบไปด้วยฟันเฟือง ซึ่งสื่อให้เห็นถึง ความมุ่งมั่นและตั้งใจของโรงเรียนที่จะผลิตนักเรียน นักศึกษาทางด้านช่างอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต และใช้สีเลือดหมู เป็นตัวแทนแห่งความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว มั่นคง และเข้มข้นในด้านการจัดการหลักสูตรแลการจัดการเรียนการสอน

การพัฒนาผู้เรียนในระยะแรกเริ่มได้เปิดทำการเรียนการสอนทั้งสิ้น3แผนกวิชาคือช่างยนต์และดีเซล,ช่างไฟฟ้าและช่างวิทยุโทรคมนาคม ซึ่งการจัดการเรียนการสอน ณ ขณะนั้นถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากผู้ปกครอง สถานประกอบการและคนในสังคมเป็นจำนวนมาก โรงเรียนช่างกลสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม” เพื่อให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาโรงเรียนฉบับใหม่และการวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตแต่โรงเรียนยังใช้ชื่อ“(ช่างกลสยาม)” ไว้ท้ายชื่อโรงเรียนใหม่เพื่อคงไว้ซึ่งเกียรติภูมิแห่งการเป็นโรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย

ในปีการศึกษา 2549 นับเป็นความภาคภูมิใจยิ่งของชาวสีเลือดหมูทุกคน ที่โรงเรียนเทคโนโลยีสยามมีการสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น อีก 1 หลังเนื่องในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาและเพื่อรองรับการพัฒนาตามแผนงานของโรงเรียนซึ่งอาคารเอนกประสงค์นี้เป็นอาคาร 15 ชั้น ที่ทันสมัยในด้านสถาปัตยกรรม มีการออกแบบก่อสร้างและออกแบบภายในที่งดงามประณีตมากด้วยประโยชน์์ในการใช้สอยที่อำนวยความสะดวกในด้านการพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเป็นสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอกและมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง

รวมไปถึงการผลิตนักศึกษาออกสู่ตลาดแรงงานและในปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่า 50,000 คน จึงทำให้วิทยาลัยได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาทุกระดับทุกสาขาวิชาที่เปิดสอนและนำมาซึ่งความปลาบปลื้มและเป็นเกียรติประวัติ อันสูงสุดคือการที่สถานศึกษาสีเลือดหมูได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษารางวัล พระราชทานระดับอุดมศึกษา (ต่ำกว่าปริญญาตรี) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2545 และในปีเดียวกันนี้วิทยาลัยได้ผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(สยามเทค) นำโดยผู้บริหารคนรุ่นใหม่ท่าน รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช ได้เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา โดยท่านได้นำแนวคิดจากผลงานวิจัยด้านการศึกษาการจัดกระบวนการพัฒนาการศึกษา “อาชีวศึกษาโมเดลใหม่ WISEModel” เพื่อจะนำมาพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพที่เข้มแข็งพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากลโดยมีการแบ่งการจัดการเรียนรู้ออกเป็น

4 สมรรถนะ ดังนี้

1. Work-Related Competency
เป็นสมรรถนะทางด้านวิชาชีพรวมทั้งมีทักษะและประสบการณ์ทางวิชาชีพ มีความเป็นเลิศในนวัตกรรมและการแข่งขันทักษะวิชาชีพ

2. Information Technology
เป็นสมรรถนะทางด้านสารสนเทศมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Social Service and Discipline
เป็นสมรรถนะทางด้านคุณธรรมวินัยและการบริการโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนยึดมั่นในระเบียบวินัยพร้อมปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมรวมทั้งยังฝึกให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดีมีีศีลธรรมรู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม และประเทศชาติ

4. English Language Skills
เป็นสมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษการด้านภาษาอังกฤษโดยสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสมรรถนะได้รับ การพัฒนาผ่านการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและได้รับการรับรองจากองค์กรมาตรฐานที่กำหนดและได้รับการรับรองจาก องค์กรภายนอกอุตสาหกรรมและสังคมโดยทั่วไป

สมรรถนะทั้ง 4 สมรรถนะนี้นำไปพัฒนาระบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ในปัจจุบันนับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนประวัติศาสตร์เมื่อสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติการศึกษาโรงเรียนเอกชน2554 (ฉบับแก้ไข) และประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2554 กำหนดให้โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใช้คำนำหน้าว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษา” และ “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ได้้โรงเรียนเทคโนโลยีสยามจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคลยีสยาม (สยามเทค) ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนจวบจนปัจจุบัน

เกือบห้าทศวรรษที่วิทยาลัยเทคโนโลยี(สยามเทค)ได้ทุ่มเททั้งแรกกายและแรงใจในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนไทย ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศต้นกล้าที่ครูอาจารย์ได้อบรมบ่มเพาะในด้านทักษะวิชาชีพและคุณธรรม จริยธรรมเริ่มผลิดอกออกผลให้เห็นเป็นที่ประจักษ์มาหลายรุ่นนั้นเป็นเครื่องการันตีให้เราเห็นถึงศักยภาพและความพร้อมที่จะเป็นแม่ข่ายในการสร้างคนให้เป็นทั้งคนเก่ง และคนดีรวมไปถึงความมุ่งมั่นที่จะเป็นที่หนึ่งในระดับอาเซี่ยนต่อไป